ดูหนังออนไลน์

ราชาแห่งผลไม้…ทุเรียน

ราชาแห่งผลไม้ที่มีชื่อว่า ‘ทุเรียน’ เป็นผลไม้ขนาดค่อนข้างใหญ่ ผลมีรูปทรงรีถึงกลม เปลือกมีสีเขียวอมน้ำตาล มีหนามปกคลุมทั่วทั้งเปลือก เนื้อในมีทั้งสีเหลืองอ่อนสีเหลืองสดจนถึงสีเหลืองปนแดง แล้วแต่สายพันธุ์ ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ซึ่งส่วนผสมที่ทำให้เกิดกลิ่นเป็นส่วนผสมของสารระเหยอันประกอบไปด้วยเอสเทอร์ คีโตนและสารประกอบกำมะถัน โดยในเรื่องของกลิ่นนี้อาจจะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล เพราะบางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม ส่วนบางคนกลับบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นเหม็นรุนแรง
ตามประวัติ ทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบรูไน อินโดนีเซียและมาเลเซีย แล้วยังเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกเมื่อประมาณ 600 ปีมาแล้ว โดยนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษชื่อ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ได้กล่าวถึงทุเรียนว่า…เป็นผลไม้ที่มีเนื้อในเหมือนคัสตาร์ดมาก รสชาติคล้ายอัลมอนด์ ซึ่งก็จริงตามนั้นแถมเนื้อในของทุเรียนยังกินได้หลากหลายด้วยไม่ว่าทั้งห่ามหรือทั้งสุกงอม
ส่วนประวัติทุเรียนในประเทศไทยนั้น ในสมัยอยุธยาได้มีการกล่าวถึงทุเรียนโดยหัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศสชื่อ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ได้ระบุว่า ทุเรียนเป็นผลไม้ที่นิยมกันมากในแถบนี้ จากหลักฐานนี้ แสดงให้เห็นว่า มีการปลูกทุเรียนในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่ในสมัยอยุธยาแล้ว โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่านำมาเข้ามาจากที่ไหนและอย่างไร แต่เป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าเป็นการนำทุเรียนมาจากพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยนั่นเอง เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดต่อและสภาพอากาศแบบเดียวกับทางมาเลเซีย
ทุเรียนในประเทศไทยแบ่งจำแนกได้เป็น 6 กลุ่ม โดยใช้ลักษณะรูปร่างใบ ปลายใบ ฐานใบ ทรงของผลและรูปร่างของหนามเป็นตัวจำแนก
1. กลุ่มกบ เป็นกลุ่มที่มีลักษณะของใบเป็นรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบมีลักษณะแหลมโค้ง ฐานใบกลมมน ทรงของ
ผลมี 3 ลักษณะ คือ ทรงกลม ทรงกลมรี และทรงกลมแป้น ส่วนหนามจะมีลักษณะโค้งงอ ซึ่งแบ่งพันธุ์ได้ 46 พันธุ์ ได้แก่ กบตาดำ กบทองคำ กบวัดเพลงและกบก้านยาว
2. กลุ่มลวง เป็นกลุ่มที่มีใบเป็นแบบป้อมกลางใบ ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบมีลักษณะแหลมและมน ทรงของผลมี
2 ลักษณะ คือ ทรงกระบอกและทรงรูปรี หนามจะมีลักษณะเว้า โดยจะแบ่งพันธุ์นี้ได้ 12 พันธุ์ ได้แก่ ลวงทอง ชะนี สายหยุดและชะนีก้านยาว
3. กลุ่มก้านยาว เป็นกลุ่มที่มีลักษณะใบแบบป้อมปลายใบ ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบเรียว ทรงของผลเป็นรูปไข่
กลับและกลม หนามมีลักษณะนูน แบ่งพันธุ์นี้ได้เป็น 8 พันธุ์ คือ ก้านยาว ก้านยาววัดสักและก้านยาวพวง
4. กลุ่มกำปั่น เป็นกลุ่มที่มีลักษณะใบยาวเรียว ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม ทรงของผลเป็นทรงขอบขนาน
หนามมีลักษณะแหลมตรง แบ่งพันธุ์นี้ได้ 13 พันธุ์ เช่น กำปั่นเหลือง กำปั่นแดง ปิ่นทองและหมอนทอง
5. กลุ่มทองย้อย เป็นกลุ่มที่มีลักษณะใบแบบป้อมปลายใบ ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบมน ทรงของผลเป็นรูปไข่
หนามมีลักษณะนูนปลายแหลม สามารถแบ่งพันธุ์นี้ได้เป็น 14 พันธุ์ คือ ทองย้อยเดิม ทองย้อยฉัตรและทองใหม่
6. กลุ่มเบ็ดเตล็ด เป็นกลุ่มทุเรียนที่แบ่งจำแนกลักษณะพันธุ์ได้ไม่ชัดเจน มีอยู่ถึง 83 พันธุ์ อาทิ กะเทยเนื้อขาว
กะเทยเนื้อแดง กะเทยเนื้อเหลือง เป็นต้น
7. กลุ่มลา เป็นกลุ่มทุเรียนที่ไร้หนาม ซึ่งเป็นพันธุ์หายากมาจากอเมริกา
พันธุ์ทุเรียนที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 4 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์หมอนทอง (D159) พันธุ์ชะนี (D123) พันธุ์
ก้านยาว (D158) และพันธุ์กระดุม ซึ่งจะมีลักษณะเด่นดังนี้
– พันธุ์หมอนทอง (D159) ลักษณะผลมีขนาดใหญ่ ทรงของผลค่อนข้างยาวมีบ่าผล ปลายผลแหลม พูมักไม่ค่อย
เต็มทุกพู หนามแหลมสูง ฐานหนามเป็นเหลี่ยม ระหว่างหนามใหญ่จะมีหนามเล็กแซมอยู่ ก้านผลใหญ่แข็งแรง ช่วงกลางก้านผลจนถึงปากปลิงจะอ้วนใหญ่ทรงกระบอก เนื้อละเอียดหนาสีเหลืองอ่อน เนื้อค่อนข้างแห้งไม่แฉะ รสชาติหวานมัน มีเมล็ดน้อยและลีบเป็นส่วนใหญ่
– พันธุ์ชะนี (D123) ลักษณะผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ ทรงของผลเป็นรูปทรงหวด คือ กลางผลป่อง หัวเรียว ก้น
ตัด ร่องพูค่อนข้างลึกเห็นได้ชัด ขั้วผลใหญ่และสั้น เนื้อละเอียดสีเหลืองจัดเกือบจะเป็นสีจำปา ปริมาณมาก รสชาติหวานมัน เมล็ดค่อนข้างเล็กและมีจำนวนน้อย
– พันธุ์ก้านยาว (D158) ลักษณะผลขนาดปานกลาง ทรงของผลเป็นทรงกลมเห็นพูไม่ชัดเจน พูเต็มทุกพู หนามเล็ก
ถี่และสั้นสม่ำเสมอทั้งผล ก้านผลใหญ่และยาวกว่าพันธุ์อื่น เนื้อละเอียดมีสีเหลืองหนาปานกลาง รสชาติหวานมัน เมล็ดมีค่อนข้างมากและใหญ่
– พันธุ์กระดุม ลักษณะผลมีขนาดค่อนข้างเล็ก ทรงของผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ด้านหัวและด้านท้ายของผล
ค่อนข้างป้าน ก้นผลบุ๋มเล็กน้อย หนามเล็กสั้นและถี่ ขั้วค่อนข้างเล็กและสั้น ลักษณะของพูเต็มสมบูรณ์ ร่องพูค่อนข้างลึก เนื้อละเอียดนุ่มสีเหลืองอ่อน แต่เนื้อค่อนข้างบาง รสชาติหนักหวานไม่ค่อยมัน เละง่ายเมื่อสุกจัด เมล็ดมีขนาดใหญ่
เมื่อรู้ลักษณะของทุเรียนในแต่ละพันธุ์แล้ว ก็ควรจะรู้วิธีการดูทุเรียนว่าลูกไหนสุก โดย สังเกตก้านผล ก้านผลจะแข็งมีสีเข้มขึ้น ลูบที่ก้านจะสากมือ จับที่ก้านแล้วแกว่ง จะรู้สึกถึงความยืดหยุ่นของผลมากขึ้น และก้านผลบริเวณปากปลิงจะบวมโตเห็นรอยต่อชัดเจน สังเกตหนาม ปลายหนามจะแห้ง มีสีน้ำตาลเข้ม แล้วเปราะหักง่าย สังเกตรอยแยกระหว่างพู เมื่อทุเรียนแก่จัดจะเห็นรอยแยกบนพูได้ชัดเจน ยกเว้นบางพันธุ์ที่ไม่ปรากฏเด่นชัด เช่น พันธุ์ก้านยาว การชิมปลิง ทุเรียนที่แก่จัด เมื่อตัดขั้วผลหรือปลิงออก จะเห็นน้ำใสซึ่งไม่ข้นเหนียวเหมือนในทุเรียนอ่อน ถ้าใช้ลิ้นชิมดูจะมีรสหวาน การเคาะเปลือกหรือกรีดหนาม ผลทุเรียนที่แก่จัดจะมีเสียงดังหลวมๆ เสียงจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพันธุ์และอายุของต้นทุเรียน การปล่อยให้ทุเรียนร่วง เมื่อทุเรียนเริ่มแก่และสุกจะร่วง ซึ่งเป็นสัญญาณว่าสามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว
กว่าจะมีทุเรียนอร่อยๆ ให้รับประทาน มันไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เลยเชียวนะ เช่นนั้น ขอให้รับประทานด้วยความภูมิใจและรับประทานแบบพอดีๆ จะได้ไม่เกิดผลเสียต่อตัวเองนะจ๊ะ

You May Also Like

About the Author: pfiff